Financial intelligence

รับรู้สัญญาณสำคัญทางการเงินเพื่อนำไปวางแผนในการจัดการกระแสเงินสด งบประมาณ รายได้ ค่าใช้จ่าย เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการบริหารกิจการ

ข้อมูลเชิงลึกทางด้านการเงิน

แสดงข้อมูลเชิงลึกทางการเงิน และตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI) เพื่อกำหนดนโยบายทางการเงินขององค์กร 

  • แสดงผลกำไรและคาดการณ์แนวโน้มในแต่ละไตรมาส
  • จัดทำแผนรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อบริหารกระแสเงินสดได้อย่างเหมาะสม
  • เตรียมแผนรับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้าโดยวิเคราะห์จากกราฟข้อมูลและ KPI

เพิ่มความแม่นยำในการบริหารกระแสเงินสด

รับรู้กระแสเงินสดของกิจการแบบเรียลไทม์ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต และนำไปตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ 

วางแผนและควบคุมงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

จัดทำงบประมาณหรือการประมาณการอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับแผนธุรกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายขององค์กร โดยเปรียบเทียบยอดประมาณการ (Forecast) กับยอดที่เกิดขึ้นจริง (Actual) หรือเทียบกับผลประกอบการที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลหรือสมมติฐานสำหรับปีถัดไป

Business intelligence and Data analytics เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการบริหารงานยุคดิจิทัล สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เพื่อวิเคราะห์และเข้าใจข้อมูลเชิงลึกได้มากกว่าเดิม

Font Awesome Icons

Latest Posts

เมื่อองค์กรเต็มไปด้วยข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากธุรกรรมขององค์กร ปริมาณข้อมูลจากเว็บไซต์และโซเชียล รวมถึงการสตรีมข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เป็นเรื่องที่ยากและสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยเฉพาะแรงงานคนเนื่องจากเราต้องแยกประเภท จัดเรียงข้อมูล ออกแบบการนำเสนอด้วยตัวเองทุกขั้นตอน การเปลี่ยนข้อมูลดิบจำนวนมหาศาลนี้ให้เป็นข้อมูลเชิงลึกจึงเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนและให้ความสำคัญอย่างมากPower BI เป็นหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจ (business intelligence) ที่ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์สู่การตัดสินใจได้ดีขึ้น ทำไมองค์กรจำนวนมากจึงใช้ Power BI เพื่อเปลี่ยนข้อมูลปริมาณมหาศาลให้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริง Seamless user access ฟีเจอร์และเมนูใช้งานง่ายมีมุมมองที่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกคุ้นเคย ผสานรวมกับ Microsoft 365 เพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน Connect to data anywhere เข้าถึงและเชื่อมต่อข้อมูลได้ทุกที่ สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองได้ตลอดเวลาเพื่อการตัดสินใจที่รวดเร็จ Work faster and spend less เมื่อใช้ Power BI และ Azure Synapse Analytics คุณสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง Go from insight to action จากการวิเคราะห์สู่การปฏิบัติด้วยชุดเครื่องมือใน Power Platform จะช่วยเสริมให้การแชร์หรือส่งออกข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้น Keep data secure and extend governance มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนคลาวด์ที่ทันสมัยที่จาก Microsoft cloud application Find answers faster ประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้รวดเร็วมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี Azure Machine Learning  Make decisions on the go ดูความเคลื่อนไหวและวิเคราะห์ข้อมูลได้ทุกที่ทั่วโลกแบบเรียลไทม์ผ่าน Power BI Mobile Lean on cloud maturity เชื่อมต่อกับข้อมูลขององค์กรและแชร์รายงานได้โดยตรงผ่านระบบคลาวด์ที่มีความปลอดภัยสูง Innovation through user feedback มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด Create a data-driven culture การใช้ข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนอกจากช่วยผลักดันให้องค์กรไปสู่เป้าหมายแล้ว ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดคือการได้รับเวลาที่มีค่ากลับคืนมา [...]
ในการใช้งาน Power BI นั้นมีเทคนิคหลากหลายรูปแบบสำหรับสร้าง Dashboard เพื่อนำเสนอรายงานให้เกิดความน่าสนใจและง่ายต่อการนำเสนอแก่ผู้บริหารหรือผู้ใช้งานที่ต้องการเห็นรายงานหลายๆเรื่องและแสดงข้อมูลรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมดเอาไว้ แต่การจะนำข้อมูลที่หลากหลายนี้มาสร้างเป็น Chart หลายๆ Chart ไว้ในรายงานเพียงหน้าเดียวคงเป็นเรื่องที่ยากเนื่องจากมีพื้นที่จำกัด Power BI มีฟังก์ชันสำหรับรองรับการสร้าง Dashboard ลักษณะนี้ด้วยการ Create Bookmark ให้เราสามารถซ่อนและแสดง Chart รายงานหรือรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ในรายงานเพียง 1 หน้าเท่านั้น เพิ่มลูกเล่นในการนำเสนอรายงานให้มีความน่าสนใจ ซึ่งในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างโดยวิธีสร้าง Chart รายงานที่ไม่สามารถแสดงรายละเอียดหรือรายงานอื่นๆที่ต้องการได้ภายใน 1 หน้า และวิธีการ Create Bookmark ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น (ภาพประกอบ การสร้างรายงานที่ไม่สามารถรวบรวมทั้งหมดไว้ที่หน้าเดียวได้) จากภาพประกอบข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีหน้ารายงานที่ต้องการนำเสนอเป็นจำนวนมาก และหากเป็นข้อมูลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ก็ไม่เหมาะในการแยกหน้ารายงานเพราะอาจจะทำให้เกิดความสับสนและไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นการ Create Bookmark จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะใช้ในการออกแบบรายงานบน Power BI ขั้นตอนการสร้าง Bookmark เมื่อทำการสร้างรายงานเสร็จแล้วให้เลือก View > เลือก Selection, Bookmark (ภาพประกอบ Open bookmark and selection) 2. ขั้นตอนนี้จะเป็นการกด Hide เพื่อซ่อน Chart ที่ไม่อยากให้แสดงใน Bookmark 1 ไว้ก่อน และ กด Add เพื่อเพิ่ม Bookmark 1 (สามารถเปลี่ยนชื่อได้) จะได้ตามรูปภาพ (ภาพประกอบ Hide chart) 3. เมื่อสร้าง Bookmark 1 เสร็จแล้วให้เลือก Hide เพื่อซ่อน Chart ของ Bookmark 1 ไว้ก่อน และเลือก Show แสดง Chart ที่เหลือขึ้นมาเพื่อทำการสร้าง Bookmark 2 เมื่อทำครบแล้วจะได้ตามรูปภาพด้านล่าง (ภาพประกอบ การ Add Bookmark) 4. ในกรณีที่ต้องการปรับแต่งลักษณะของ Bookmark ให้เลือก Insert > Buttons > Bookmark เมื่อเพิ่มปุ่มแล้วสามารถปรับแต่ง ข้อความ, พื้นหลัง, ไอคอนของปุ่มได้ (ภาพประกอบ การเพิ่มปุ่ม) 5. การตั้งค่าปุ่ม เปิดใช้งาน Action > Type = Bookmark, Bookmark = Bookmark ที่ตั้งชื่อไว้ข้างต้น ดังภาพประกอบ (ภาพประกอบ การตั้งค่าปุ่ม) สรุป การใช้ Bookmark ในรายงานนั้นเป็นอีกหนึ่งเทคนิคเพื่อลดปริมาณหน้าของรายงาน และช่วยขยายความสามารถในการแสดงผลจาก Dashboard ที่มีพื้นที่จำกัดด้วยการออกแบบรายงานที่ครอบคุมเนื้อหาและเหมาะสำหรับ User เข้าใช้งาน อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงข้อมูล ตามที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละ Bookmark ได้อย่างสะดวก หมายเหตุ ในกรณีที่ใช้งานบน Power BI Desktop การ Click Bookmark ที่ได้ตั้งค่าไว้ สามารถใช้งานด้วย Ctrl+Click [...]
สำหรับ Power BI เวอร์ชันล่าที่สุด ที่เพิ่งออกมาให้ใช้งานเมื่อต้นเดือน ตุลาคม 63 ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น ปรับเปลี่ยน Icon ให้ดูทันสมัยขึ้น จัดหมวดหมู่เมนูใหม่เพื่อให้ง่ายในการเข้าถึง มีฟังก์ชันสำหรับช่วยเหลือผู้ใช้งาน (User) ในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล และ Export ข้อมูล แนะนำวิธีการใช้งานเบื้องต้น และเพิ่มระบบ Automatic เข้ามาช่วยในการเตรียมฐานข้อมูลสำหรับออกรายงาน ด้านการจัดทำรายงาน (Reporting) Canvas watermarks ส่วนแนะนำการเชื่อมต่อที่แสดงให้เห็นทันทีเมื่อเปิดใช้งานโปรแกรม เพื่อให้เราเลือกฐานข้อมูลที่ต้องการ เช่น Excel, SQL หรือการสร้างฐานข้อมูลใหม่ ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม รวมถึง Sample dataset ที่ใช้สำหรับทดสอบการออกรายงาน ทั้งนี้หากเราเชื่อมต่อกับ Dataset ได้สำเร็จ จะมีคำแนะนำในการสร้างรายงานแสดงให้เห็นที่หน้าจอ ดังแสดงในภาพประกอบ (ภาพประกอบ ส่วนแนะนำการเชื่อมต่อ) ด้านการแสดงผล (Personalize visuals is now generally available) ฟังก์ชัน Personalize visuals ที่ช่วยให้เราเข้าถึง Reports ได้มากขึ้นโดยปรับเปลี่ยนมุมมองของ Chart ได้ด้วยตนเอง เช่นการเปลี่ยนจาก Column chart เป็น Line chart การจัดการฟิลด์ข้อมูล (Field) และการย้ายตำแหน่งการแสดงผลได้ด้วยตัวเอง การเรียงลำดับข้อมูล และการลบข้อมูลที่ไม่ต้องการให้แสดงผล โดย Admin สามารถเปิด-ปิด การใช้งานฟังก์ชันนี้ได้ในระดับ Page (ภาพประกอบ ฟังก์ชัน Personalize visuals) ความสามารถด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) Export data from Q&A visual การ Export ข้อมูลจากรายการคำถาม ในรูปแบบของ .csv ฟอร์แมต (ภาพประกอบ ฟังก์ชัน Export ข้อมูลจากคำถาม) ด้านการเตรียมข้อมูล (Data preparation) Automatic table detection from Excel files เมื่อเชื่อมต่อกับไฟล์ Excel สำเร็จแล้ว Power BI จะ “แนะนำตาราง” ใหม่ให้กับผู้ใช้งานโดยข้ามแถวที่ไม่มีข้อมูล หรือลบคอลัมน์ที่ไม่มีค่าออกให้แบบอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูล (Transforms) Automatic table detection from JSON files เมื่อเชื่อมต่อกับไฟล์ JSON สำเร็จแล้ว Power BI จะทำการแปลงไฟล์ JSON ฟอร์แมตเป็นตารางให้โดยอัตโนมัติ ความสามารถด้านการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลอื่น (Data connectivity) Broader geographical support for Power Platform Dataflows connector เพิ่ม Visualization แสดงข้อมูลเป็นแผนที่ ได้แก่ Germany, UAE, Switzerland, และ South Africa MariaDB now supports DirectQuery สามารถเชื่อมต่อกับ MariaDB แบบ DirectQuery เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูล New connectors Spigit eWay-CRM ด้านความง่ายในการใช้งาน (Usability) Updates to the ‘new look’ experience and release plan ปรับโฉม Power BI service ใหม่ตามคำแนะนำที่ได้รับจากผู้ใช้งานทั่วโลก เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น เช่น เปลี่ยน Font และ Icon ของ Action bar เพิ่มเมนูเพื่อเข้าถึงฟังก์ชันการทำงานต่างๆ เพิ่มปุ่มเพื่อเปลี่ยนกลับไปใช้งาน Action bar เวอร์ชันแรกได้เหมือนเดิม (ภาพประกอบ สวิทช์ action bar เวอร์ชันแรก) และเพิ่ม Page navigation settings เพื่อย้ายแท็บแสดงชื่อรายงานแต่ละตัวจากตำแหน่งเดิมลงมายังด้านล่าง เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการแสดงผล และทำให้มีความคล้ายคลึงกับความสามารถของ Power BI Desktop (ภาพประกอบ Page navigation settings) [...]
เดือนกันยายน 63 ที่ผ่านมา Microsoft ประกาศเพิ่มประเภท License ของ Power BI เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการใช้งานยิ่งขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นข่าวดีสำหรับองค์กรที่ต้องการใช้งาน Power BI ที่มีความสามารถครบครันแต่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องซื้อแบบ Enterprise License (ลิขสิทธิ์แบบองค์กร) เหมือนกับ Premium Per Capacity License Power BI Premium Per User (PPU) ปรับลดทอนฟีเจอร์บางอย่างจาก Premium License แต่ยังคงมีความสามารถหลักที่คล้ายกัน ตามรายละเอียดที่แสดงในตารางเปรียบเทียบ Power BI PPU กับ Per Capacity โดยจุดเด่นของ PPU License คือ เป็น User License (ลิขสิทธิ์แบบรายผู้ใช้งาน) (ตารางเปรียบเทียบ Power BI PPU กับ Per Capacity) จากตารางข้างต้น จะเห็นว่าฟีเจอร์ที่จำเป็นยังไม่ถูกตัดออกไป จะมีก็แต่เพียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ให้มาใน Per User ก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว ใครสามารถเข้าถึงข้อมูลของ PPU License ได้บ้าง? จากตารางด้านล่างจะเห็นว่าทาง Microsoft ยังไม่อนุญาตให้ Pro License ซึ่งมีราคาถูกที่สุด ใช้งานร่วมกับ PPU License ได้ แต่อนุญาตให้ผู้ใช้งานแบบ PPU License สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้ง Pro และ Premium Per Capacity ทั้งนี้ Microsoft เองมีแผนที่จะเริ่มจำหน่าย PPU License ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 63 หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ทางเราจะอัพเดทให้ทราบเป็นระยะ *หมายเหตุ : เริ่มให้บริการ วันที่ 2 เมษายน 2564 ข้อมูลเพิ่มเติม (ตารางแสดงการเข้าถึงข้อมูลของ PPU License) Premium Per User (PPU) Icon [...]
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ถ้าพูดถึงเรื่องการการวิเคราะห์ข้อมูล Power BI จะเป็น Application ตัวเลือกแรกๆ ที่ถูกนำมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีความโดดเด่น Microsoft จึงได้ระดมทุนในการพัฒนา Microsoft Power BI อย่างต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับจากหลายส่วนว่าเป็น Application ที่มีวิธีการสร้างรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในปัจจุบัน Power BI ได้พัฒนาประสิทธิภาพ ในแต่ละเวอร์ชันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความสับสนแก่ผู้ใช้งาน รวมถึงการเลือกใช้งานในแต่ละเวอร์ชัน ว่าเหมาะสมกับงานของตนหรือไม่ ในบทความนี้จะนำข้อแตกต่างแต่ละเวอร์ชันมา เปรียบเทียบการใช้งาน Power BI ระหว่าง Power BI – Desktop, Pro, Premium  ดังตารางต่อไปนี้ ตาราง เปรียบเทียบการใช้งาน Power BI จากตารางข้างต้นจะเห็นแล้วว่า Power BI ในแต่ละเวอร์ชันมีความแตกต่างกันพอสมควร โดย Power BI Desktop สามารถดาวน์โหลดฟรีจาก Microsoft โดยตรงหรือติดตั้งผ่าน Microsoft Store ซึ่งจะมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเช่น การอัปเดทอัตโนมัติเมื่อใดก็ตามที่ทีมพัฒนาออกการอัปเดท เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นในการพัฒนา Power BI Pro จะมีค่าใช้จ่ายเรื่อง License เพราะจะมีสิทธิในการใช้งาน server ของ Power BI เช่นการแชร์ชุดข้อมูลแดชบอร์ดและรายงานกับผู้ใช้ Power BI Pro คนอื่น ๆ สามารถสร้าง App Workspaces และการแชร์แบบ peer-to-peer เป็นต้นแต่ถ้าต้องการแชร์ข้อมูลหรือใช้งานรายงานต้องมี License Pro เท่านั้น เหมาะสำหรับผู้พัฒนาและวิเคราะห์รายงาน Power BI Premium เป็นเวอร์ชันที่แพงที่สุด แต่สิทธิประโยชน์ไม่ได้ด้อยไปกว่าราคาของ License สามารถทำได้ทุกฟังก์ชันของการทำงานของเวอร์ชันต่างๆ ที่กล่าวมาและ ยังมีเพิ่มฟังก์ชันการทำงานเช่นความจุในการจัดเก็บข้อมูลถึง 100 TB ใช้งานร่วมกับ Power BI Report Server เป็นต้น Power BI Premium เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่และมีผู้ใช้ที่จำเป็นต้องใช้รายงานเป็นจำนวนมาก แล้วจะเลือก Power BI Pro หรือ Power BI Premium ดี? ถ้าองค์กรมีขนาดใหญ่และมีผู้ใช้งานรายงานจำนวนมากแนะนำให้เลือก Premium ถ้ามีผู้ที่จำเป็นต้องแก้ไขรายงานและพัฒนารายงานเป็นประจำแต่จำนวนน้อยแนะนำให้เลือก Pro เลือกทั้ง 2 แบบ เช่นมีผู้ใช้งานทั้งหมด 700 คน 100 เป็นผู้พัฒนารายงาน และ 600 คนเป็นผู้ใช้งานรายงานเป็นบางครั้ง ควรเลือก Pro สำหรับ 100 คน และ Premium สำหรับ 600 คน ทั้งนี้สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ AMCO [...]
Digital business เป็นการดำเนินธุรกิจที่อาศัยข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนซึ่งจะต้องมีความถูกต้องและทันเหตุการณ์อยู่เสมอเพราะข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา แต่การนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน (multiple data sources) มาประมวลผลร่วมกันไม่ใช่เรื่องง่ายและจำเป็นต้องใช้เครื่องมือสมัยใหม่เพื่อช่วยลดเวลาในการดำเนินการ Power BI เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนในการสร้างรายงานและวิเคราะห์ข้อมูล (Reporting and analytics) ที่ให้เลือกติดตั้งใช้งานได้ทั้งแบบ desktop และ online สามารถเชื่อมต่อกับแหล่งเก็บข้อมูลที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Excel, SQL Server, Azure, JSON โดยนำมาประมวลผลและแสดงผลตามมุมมองที่ผู้บริหารต้องการ (Management Information Dashboard: MID) ได้อย่างรวดเร็ว ภาพประกอบ 1: หน้าจอแสดงประเภทของฐานข้อมูลทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่รองรับการเชื่อมต่อด้วย Power BI Power BI เป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นในการนำไปใช้งานสูงและสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งฐานข้อมูลแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงฐานข้อมูลของซอฟต์แวร์อีอาร์พี Microsoft Dynamics 365 Business Central ตัวอย่างการนำ Power BI  ไปเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ Business Central ภาพประกอบ 2: ระบุชื่อ server/ database ที่ต้องการเชื่อมต่อ ระบุชื่อของ server/ database ที่ต้องการเชื่อมต่อ เลือกการสร้าง data model โดยเลือกเป็น import หรือ direct query โดยแต่ละทางเลือกจะมีรูปแบบการนำเข้าข้อมูลที่แตกต่างกัน ภาพประกอบ 3: การแสดง table ที่อยู่ในฐานข้อมูล เมื่อ Power BI เชื่อมต่อกับ SQL Server สำเร็จแล้ว จะแสดงข้อมูลรายชื่อตาราง (table) ทั้งหมดที่อยู่ในฐานข้อมูล (database) ทางหน้าจอด้านซ้ายมือ โดยเราสามารถเลือกเฉพาะตารางที่เราสนใจ เพื่อนำไปใช้ในการสร้างรายงานได้ (ภาพประกอบ 4: แสดงรายละเอียดของโครงสร้างตารางข้อมูล) หากข้อมูลที่ได้ไม่ตรงตามความต้องการในการนำไปใช้สร้างรายงาน เราสามารถแก้ไขได้เอง โดยไปที่เมนู Home > Transform data เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างของตารางข้อมูลตามความต้องการ เช่น เปลี่ยนชื่อคอลัมน์ หรือเปลี่ยนประเภทการแสดงข้อมูล โดยไม่ต้องพึ่งพาความรู้ทางเทคนิคมากนัก ภาพประกอบ 5: การตั้งค่าการเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลต่างๆ (multiple data sources) จะเห็นว่าการเชื่อมฐานข้อมูลด้วย Power BI สามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพียงไม่กี่ขั้นตอน ซึ่งหากข้อมูลที่นำมาใช้สร้างรายงานมีความสมบูรณ์อยู่แล้วก็สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องแปลงข้อมูลก่อนแต่อย่างใด (data transformation) สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ AMCO [...]

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เรามีทีมงานที่พร้อมให้คำปรึกษา